loader image

Scroll

หากพูดถึงเทรนด์การกินในปัจจุบัน
คงหนีไม่พ้น “ทุเรียน” ที่มีทั้งคนรักคนชัง

แต่กลับเป็นผลไม้ที่มี “มูลค่าสูง” ที่ใคร ๆ ก็ต้องการ

แต่ภายใต้เทรนด์เหล่านั้น

เรารู้จัก “ทุเรียน” มากน้อยแค่ไหน ?

ทดสอบความเป็นตัวจริง “เซียนทุเรียน”

คลิกเลือกคำตอบ

ผ่านมาเป็นร้อยปี

ตอนนี้ “ทุเรียน” อยู่ตรงไหน

ของไทยบ้าง ?

ลองคลิกดูแต่ละจังหวัด

ปัจจุบัน ไทยปลูกทุเรียนกว่า 49 จังหวัด

โดยปี 2566 มีผลผลิตเพิ่มขึ้น

จากปี 2565 ถึง 10.63%

ซึ่ง จ.พัทลุง มีผลผลิตเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 5,076.12%

จาก 67 ตัน ในปี 2565 เป็น 3,468 ตัน ในปี 2566

ขณะเดียวกัน มี 3 จังหวัด เนื้อที่ยืนต้นลดลง แต่ผลผลิตเพิ่มขึ้น คือ

กำแพงเพชร, นนทบุรี และภูเก็ต

ทุเรียน 1 ลูกมีอะไรซ่อนอยู่ ?

เลื่อนขึ้น-ลง เพื่อหมุนทุเรียน

ไม่ต้องปอก แค่ฟังเสียงเคาะ
ก็รู้ทุเรียน “ดิบ-สุก”

เสียงไม้เคาะทุเรียน 

เป็นวิธีที่พ่อค้าแม่ค้าส่วนใหญ่ใช้ ซึ่งตัวไม้จะประดิษฐ์ขึ้นเอง ทำจากไม้ไผ่ ปลายไม้หุ้มด้วยท่อยางหนา แต่วิธีการนี้อาจทำให้หนามทุเรียนล้มและไม่สวย

ลองกดฟังเสียง

เสียงนิ้วดีดทุเรียน 

เป็นวิธีที่เกษตรกรสวนทุเรียนดั้งเดิมใช้ แต่ต้องอาศัยความชาำนาญ โดยจะดีดไปที่โคนของหนาม เนื้อทุเรียนจะกระทบกับเล็บพอดี วิธีนี้ช่วยให้หนามยังคงสวยเหมือนเดิม

ลองกดฟังเสียง

ไม่ว่าจะใช้ไม้เคาะหรือนิ้วดีดทุเรียน ทั้ง 2 วิธีนี้ ได้ผลลัพธ์คล้าย ๆ กัน คือ ทุเรียนเนื้อสุกจะมีเสียงทุ้ม เนื้อสุกมากก็ยิ่งทุ้มมาก เพราะเนื้อทุเรียนลีบ ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างพูมากกว่าทุเรียนเนื้อดิบ ซึ่งเสียงเคาะจะแน่น ๆ

แต่การจะฟังเสียงเคาะทุเรียนออก ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องสั่งสมจากประสบการณ์ อย่างพ่อค้าแม่ค้าที่ตลาดไท ก็ยอมรับว่า หากพ้นช่วงฤดูกาลทุเรียนไปแล้วก็อาจลืมเสียง ต้องเรียนรู้เสียงเคาะใหม่ช่วงเริ่มฤดูกาล

19 กรกฎาคม 2567
บรรยากาศการค้าขายทุเรียนในตลาดไท จ.ปทุมธานี

จากผลไม้ กลายเป็นเทรนด์

แม้ทุเรียนจะเป็นผลไม้มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ จนถูกแบนในหลายสนามบินและโรงแรมทั่วโลก แถมยังเป็นผลไม้ที่สร้างความเจ็บแสบและมีหนามแหลม แต่แถบเอเชีย-แปซิฟิก ทุเรียนกลับถูกขนานนามว่า “ราชาผลไม้”

โดยพบว่า ทิศทางราคามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และกลายเป็นที่ต้องการของตลาดสูง

ราคาทุเรียนหมอนทอง 10 ปี

(ระหว่างเดือน เม.ย.-ก.ย. ของปี พ.ศ. 2558-2567)

ทำไม “ทุเรียนไทย” ถึงแพง ?

ดูข้อมูล

เดือนที่ราคาทุเรียนแพงที่สุดในรอบ 10 ปี คือ

เดือนมิถุนายน-กรกฎาคม

ปี 2566 เป็นปีแรกที่ราคาทุเรียนหมอนทองทะลุหลัก 200 บาทต่อกิโลกรัม

ก่อนช่วงเดือนเมษายน ในปี 2567 ราคาทุเรียนพุ่งสูงสุดในรอบ 10 ปี อยู่ที่

บาท/กิโลกรัม
0

ข้อมูลกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ณ วันที่ 6 สิงหาคม 2567

ไทยในรอบ 10 ปี ผลผลิตทุเรียน เพิ่มขึ้น

0 %

ปี 2566 ไทย มีพื้นที่ปลูกทุเรียนทั่วประเทศ

รวม 1,050,700 ไร่ ได้ผลผลิต

ตัน
0

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2566), คำนวณโดยบริษัท อินเทลลิเจท์ รีเสิร์ซ คอนซัลแตนท์ (ไออาร์ซี) จำกัด (2567)

ทุเรียน เป็นสินค้าเกษตรส่งออกอันดับ 2 ของไทย

ข้อมูลระหว่างปี 2562-2566 ระบุมูลค่าส่งออกทุเรียน สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

แซงยางพารา มันสำปะหลัง ไปอยู่ที่อันดับ 2 ปัจจุบันเป็นรองเพียงการส่งออกข้าว  

ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร (2023)

ที่มา

ทุเรียนไทย ปี 2567 ส่งออกไปไหนมากสุด ?

(ม.ค.-มิ.ย. 67)

ปี 2567 ขบวนทุเรียนส่งออกของไทยมุ่งหน้าไปจีน มากที่สุด ถึง 97.48% 

นี่ไม่ใช่ครั้งแรก !

จีนกำลังต้องการทุเรียน
อย่างก้าวกระโดด !

เริ่มตั้งแต่ปี 2563 ที่เกิดโควิด-19 เป็นครั้งแรกทุเรียนส่งออกของไทย

ถูกส่งไปจีนถึง 72.83%
เป็นมูลค่า 47,798 ล้านบาท

ก่อนขยับขึ้นทุกปี

มูลค่าการส่งออกทุเรียนไทยไปจีน ปี 2563-2566

ไทยก็นำเข้าทุเรียน ?

จากข้อมูลปี 2567 พบว่า

2.07% นำเข้าทุเรียนมาจาก กัมพูชา

มูลค่า 342,297 บาท

ส่วนอีก 97.97% ของทุเรียนที่นำเข้าไทย

เป็นทุเรียนส่งออกต่างประเทศที่ถูกตีกลับ

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลการ

จีนเป็นประเทศที่นำเข้าทุเรียน อันดับ 1 ของโลก

ในปี 2566 นำเข้าทุเรียนสดรวม 1.426 ล้านตัน
รวมมูลค่า 6.71 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 2.47 แสนล้านบาท

โดยนำเข้าจาก…

เวียดนาม เบอร์ 2 ส่งออกทุเรียนไปจีน

ทว่าไทยอาจเสียแชมป์

ทั้งปริมาณและรสชาติ !

เพราะในรอบ 10 ปี 

ผลผลิตทุเรียนเวียดนาม เพิ่มขึ้น

0 %

ปี 2566 เวียดนามมีพื้นที่ปลูกทุเรียน
รวม 687,500 ไร่
ได้ผลผลิต 825,000 ตัน

ที่มา : บริษัท อินเทลลิเจนท์ รีเสิร์ซ คอนซัลแตนท์ (ไออาร์ซี) จำกัด (2567)

ปัจจุบันไม่เพียงเวียดนาม จะเพิ่มกำลังการผลิตทุเรียน ส่งไปขายที่จีน

ยังพบว่าหลายประเทศอาเซียน ก็กำลังพัฒนาพันธุ์และเพิ่มการผลิตทุเรียน

เพื่อส่งไปขายที่จีน เช่นกัน เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เป็นต้น

ซึ่งทั้ง ดร.พิสิฐ และ รศ. ดร.อัทธ์ เห็นตรงกัน ว่าไทยควรถอดบทเรียนทุเรียนจากมาเลเซีย ที่ชื่อว่า

“มูซังคิง”

มูซังคิง

ผลผลิตน้อย แต่มูลค่ามาก !

ทุเรียนมูซังคิงมาเลเซีย

มีมูลค่าสูงกว่าทุเรียนไทยถึง

เท่า
0

รศ. ดร.อัทธ์ บอกว่า มูซังคิงจัดเป็นแบรนด์ทุเรียนระดับพรีเมียมในจีน

คนจีนมักซื้อทุเรียนมูซังคิง เพื่อนำไปฝากให้ผู้ใหญ่ที่เคารพ

“ทุเรียนไทย กิโลกรัมละ 200-250 บาท

แต่มูซังคิงที่ตลาดมาเลเซีย กิโลกรัมละ 600-700 บาท”

“ผมคิดว่า ทุเรียนจะเป็นยุคเศรษฐกิจเฟื่องฟูครั้งใหม่ของมาเลเซีย”

นายโมฮัมหมัด ซาบุ (Mohamad Sabu) รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและความมั่นคงอาหารของมาเลเซีย

จีนเป็นลูกค้าทุเรียนรายใหญ่ที่สุดในโลก

หลายประเทศเร่งเพิ่มการผลิต เพิ่มคุณภาพ เพื่อส่งทุเรียนไปขายที่จีน

แต่รู้หรือไม่

ตอนนี้จีน ก็ปลูกทุเรียนแล้วเช่นกัน !

“ทุเรียนจีน” ถูกแนะนำอย่างเป็นทางการเมื่อปีที่แล้ว โดยปลูกอยู่ที่เกาะเขตร้อนของไหหนาน โดยมีการคาดการณ์ว่าจะสามารถสร้างผลผลิตได้ถึง 200 ตัน ภายในปีนี้

“หวง เจิ้ง” ประธาน Hainan Academy of Agricultural Sciences มองว่า มณฑลไหหนานควรขยายห่วงโซ่อุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลผลิตทุเรียนและการอุปถัมภ์แบรนด์ท้องถิ่น

ถ้า “จีน” ปลูกทุเรียนได้เอง 

ไทยจะขายให้ใคร 

แม้ท้ายที่สุด จีนจะก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในคู่แข่งของอุตสาหกรรมทุเรียน แต่เกษตรกรไทยหรือว่าพ่อค้าแม่ค้าไทยก็ยังมั่นใจว่า หากพูดถึง “คุณภาพ” ก็ยืนยันว่า “ทุเรียนไทย” ไม่แพ้ใครแน่นอน

และนอกจากพวกเขาจะสู้ด้วยภูมิปัญญาผสมผสานเทคนิคการพัฒนาผลผลิตต่าง ๆ แล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่จะทำให้ “ทุเรียนไทย” ก้าวขึ้นไปนั่งบน “บัลลังก์ราชาหนาม” ได้ คือ การสนับสนุนจากภาครัฐอย่างเข้มแข็ง เพราะนี่ถือเป็นหนึ่งในอาวุธที่ประเทศอื่น ๆ ใช้สู้ศึกครั้งนี้

ชวนโหวต หารสชาติที่ทุกคนถูกใจ

Share This

Facebook
X (Twitter)

Created by

Digital Media Department

Content Creator
Chalee Nawatharadol
Pimtawan Naeprakone
Pitchaya Jaisuya

Graphic and Web Designer
Narongsak Somong
Phuresaphon Jantapoon

Developer and Game Creator
Veena Boonsroi
Atiwat Rachatawarn

Photographer
Suppanatt Rattanathanaprasan

AI Generater
Thanyaphon Sripairoj

Special Thanks
Thitiphon Yothaphan